19/3/59

อบรมพนักงาน อบรมการลดต้นทุน (QCC,Kaizen,7Waste,QC7,และอื่นๆ)

อบรมพนักงาน อบรมการลดต้นทุน (QCC,Kaizen,7Waste,QC7,และอื่นๆ)

ในการดำเนินกิจการ องค์กรต่างมุ่งหวังสร้างกำไรสูงสุด โดยอาจเน้นไปที่นวัตกรรม เครื่องจักร การสร้าง การขยาย infrastructure ต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่ในอีกด้าน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นการลงทุนที่ผิดพลาด หรืออาจเป็นการยากที่จะต้องลงทุน ทั้งด้านกำลังเงิน และกำลังคน การเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อลดต้นทุนจึงเป็นอีกทางเลือก ที่สามารถทำให้องค์กรมีกำไรมากขึ้นได้ นอกจากนี้ ในภาวะที่เศรษฐกิจชะงักงันหรือ องค์กรมียอดขายชะลอตัว การลดต้นทุนเป็นเรื่องที่จำเป็นในการพยุงกิจการให้กลับมาสู่ภาวะฟื้นตัวได้ต่อไป
(อบรมพนักงานสามารถลดหย่อนภาษีได้ 200%)

ซึ่งจากที่กล่าวมาจึงเห็นได้ว่า การลดต้นทุน สามารถสร้างประโยชน์ให้องค์กร และกิจการอย่างมาก แต่การสร้างกิจกรรมที่ลดต้นทุนได้น้้น ต้องอาศัยความรู้ และเครื่องมือที่ถูกต้อง นี่จึงเป็นโอกาส ที่จะสร้างองค์กร ด้วยการ อบรมพนักงาน หัวหน้างาน หรือสร้างกลุ่มที่สามารถดูแลประสานงาน ในการใช้เครื่องมือของการดำเนินงาน เพื่อเป็นการลดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน Hua Hin FutureTraining นำหลักสูตรหัวข้อต่างๆ เหล่านี้มาเสนอแก่องค์กร โรงงาน หรือหน่วยงานในเขต หัวหิน ประจวบ เพชรบุรี แล้ววันนี้


ซึ่งมีหลักสูตรย่อยตามเครื่องมือและหัวข้อให้ท่านได้เลือกตามความเหมาะสมดังนี้

  1. หลักสูตรการดำเนินกิจกรรมกลุ่มQCCอย่างมีประสิทธิภาพ Effectiveness QCC by Small group activity  (*หลักสูตรยอดนิยม) ดูรายละเอียด
  2. หลักสูตรการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้วย Kaizen Continue improvement byKaizen activity ดูรายละเอียด
  3. หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม Kaizen Effectiveness of Kaizen activity ดูรายละเอียด
  4. หลักสูตรการลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ เพื่อลดต้นทุนการผลิต 7 Waste for cost reduction ดูรายละเอียด
  5. หลักสูตรการลดต้นทุนการผลิตด้วย QC 7 Tools QC 7 Tools for cost reduction ดูรายละเอียด
  6. หลักสูตรเทคนิคการลดต้นทุน ที่ทุกคนมีส่วนร่วม Total Cost reduction activity (*หลักสูตรยอดนิยมดูรายละเอียด
  7. หลักสูตรการลดความสูญเสีย ในการผลิต เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้า Waste reduction in process for quality improvemen ดูรายละเอียด
  8. Poka Yoke การเพิ่มผลผลิตด้วยการป้องกันความผิดพลาด(Zero-Defect by PokaYoke) ดูรายละเอียด
  9. หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (AM) เพื่อการทำ TPM ที่สมบูรณ์ AUTONOMOUS MAINTENANCE for efficiency improvement ดูรายละเอียด
  10. หลักสูตร TPM การบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อการเพิ่มผลผลิตที่ทุกคนมีส่วนร่วม TPM for Productivity improvement ดูรายละเอียด
  11. หลักสูตรการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร Overall Equipment Effectiveness : OEE ดูรายละเอียด
  12. (เปลี่ยนไปดูอบรมการจัดการเพิ่มประสิทธิ์ภาพที่นี่)
*หากต้องการรายละเอียด หัวข้อการอบรม (Course Outline) หรือราคา กรุณาติดต่อเรา
**หากต้องการใบประกาศ กรุณาส่งรายชื่อพนักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนวันอบรม


1. การดำเนินกิจกรรมกลุ่มQCCอย่างมีประสิทธิภาพ Effectiveness QCC by Small group activity

หลักสูตรการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ในสภาวะของการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงอย่างเช่นในปัจจุบัน หลายบริษัทจึงเน้นการสร้างผลกำไรจากการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งทำได้ง่ายกว่าวิธีการอื่น โดยเฉพาะการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทุกคนในองค์กร ให้สามารถนำเครื่องมือ QC Story มาใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบภายในหน่วยงานของตนเอง
แต่การจะสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งคุณภาพและการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อการดำเนินงานของกิจกรรม QCC ได้นั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจต่อการใช้เครื่องมือ QC Story เป็นอย่างดีก่อน รวมทั้งยังต้องสามารถให้คำปรึกษา ชี้แนะ ให้กับพนักงานเมื่อเกิดปัญหาในระหว่างการทำกิจกรรม QCC ได้ด้วย รวมทั้งการดำเนินการตัดสิน ประกวด การให้รางวัลจูงใจ การประชาสัมพันธ์ ซึ่งหลักเกณฑ์และหลักการเหล่านี้ ได้รวบรวมนำมาไว้ในหลักสูตรนี้แล้ว

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
  • เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ
  • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบด้วย QC 7 Tools
  • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง 
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม 
  • เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
  • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
  • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

2. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้วย Kaizen Continue improvement byKaizen activity

คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการ
ปรับปรุงสามารถทาเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดีได้แก่ต้องละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทาได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็นเรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็นแนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยเครื่องมือต่างๆเช่นPDCA , QC7 Tools , 5Sฯลฯโดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทาไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำเพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไปดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิดการดำเนินงานไคเซ็นอย่างจริงจังและสามารถผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

    3. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและดำเนินกิจกรรมแก้ไขและป้องกัน

    การแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้นถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ จากวงล้อของเดมิ่งDeming Circle ซึ่งประกอบด้วย PDCA: Plan Do Check และ Action จนได้รับความนิยมไปในทุกวงการอุตสาหกรรมและทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานด้วยตัวบุคคลากรภายในเอง นอกจากนี้ปัญหาที่พนักงานต้องพบในแต่ละวันจะยิ่งทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจ ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานให้ง่ายขึ้น ยังมีเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้อีก เช่น ไคเซ็น คิวซีซี และ 7 Wastes

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
    • เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    4. การลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ เพื่อลดต้นทุนการผลิต 7 Waste for cost reduction

    การลดต้นทุนการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการสูญเสียในรูปแบบต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการผลิตทั้ง 7 ประการนั้น นอกจากจะช่วยให้ส่งมอบงานได้ทันเวลา ได้งานที่มีคุณภาพ ยังสามารถทำให้องค์การลดความสูญเสียทุกรูปแบบในกระบวนการทำงานทุกสายงาน ซึ่งหากไม่ให้ความสนใจสังเกต และพยายามปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น ความสูญเสียก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้หน่วยงานหรือองค์การต้องสูญเสียลูกค้าและกำไรที่ควรได้ไป การลดความสูญเสียถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีความรู้ จิตสำนึก การสังเกต หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเพื่อความอยู่รอดขององค์การ

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างจิตสำนึกและการหาวิธีการลดความสูญเสียในการทำงานทั้ง 7 ประการ
    • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    • เพื่อสร้างแนวคิดในการลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการในการทำงาน
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    5. การลดต้นทุนการผลิตด้วย QC 7 Tools QC 7 Tools for cost reduction

    การควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นบทบาทสำคัญยิ่งต่อโรงงานนั้นๆ ซึ่งหลักการควบคุมคุณภาพ ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปต่างจากอดีตมากและได้เกิดเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพอยู่หลายวิธี เช่น QC Story , QCC (Quality control circle) และ QC 7 Tools หรือเครื่องมือจัดการคุณภาพ 7 ชนิด ซึ่งเป็นเครื่องมือทางสถิติอย่างง่ายๆ ที่สามารถนำมาช่วยในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เป็นระบบและเป็นขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ค้นพบปัญหาที่แท้จริงจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกระบวนการผลิตนั้นๆ ด้วย การลดปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาที่ถูกต้อง ถือเป็นหน้าที่ของพนักงานและผู้บริหารทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีความรู้ จิตสำนึก การสังเกต หาสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขป้องกัน เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุง เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้ยั่งยืนได้นั่นเอง

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    • เพื่อทราบถึงเครื่องมือจัดการคุณภาพ ทั้ง 7 ชนิด หรือ QC 7 Tools
    • เพื่อรู้แนวทางการประยุกต์ใช้กับการควบคุมคุณภาพการผลิตของหน่วยงานตนเองได้
    • เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    6. หลักสูตรเทคนิคการลดต้นทุน ที่ทุกคนมีส่วนร่วม Total Cost reduction activity

    การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยกันลดต้นทุนการผลิตให้กับองค์กร ซึ่งมีอยู่หลากหลายกิจกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้หากบริษัทใดพนักงานให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเหล่านี้ ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอนเช่นลดต้นทุนการผลิตลดปัญหาความเสียหายลดความสูญเปล่าจากการแก้ไขการรอคอยงานการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้ เป็นต้น

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างแนวคิดในการลดต้นทุนการผลิตอย่างเป็นระบบ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดต้นทุนการผลิต ได้อย่างถูกต้อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
    • เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    7. หลักสูตร : การลดความสูญเสีย ในการผลิต เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้า Waste reduction in process for quality improvement

    การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า ทำให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการผลิต อย่างเป็นระบบ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพกับตัวสินค้าได้อย่างถูกต้อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
    • เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    8. Poka Yoke การเพิ่มผลผลิตด้วยการป้องกันความผิดพลาด (Zero-Defect by PokaYoke)

    TQM (Total Quality Management) ถือเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในทุก ๆ ด้านปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงขององค์กรหลายแห่งมีความประสงค์ที่จะนำ TQM มาประยุกต์ใช้ซึ่งผู้บริหารเหล่านี้ หลายท่านได้ศึกษาปรัชญาและแนวคิดพื้นฐานของ TQM ไปบ้างแล้วแต่ยังไม่สามารถมองภาพในเชิงปฏิบัติได้อย่างชัดเจน  ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเป็นการแนะนำให้ผู้บริหารหัวหน้างาน และพนักงานในองค์กร ได้ทราบโดยสังเขปว่าการนำ TQM มาประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัตินั้นควรจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับปรัชญาและแนวคิดพื้นฐานของ TQM

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    • เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TQM อย่างเป็นระบบ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ อย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง 
    • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม 
    • เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    9. หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (AM) เพื่อการทำ TPM ที่สมบูรณ์ AUTONOMOUS MAINTENANCE for efficiency improvement

               หลักสูตร นี้ จะเน้นที่การทำความเข้าใจกับแนวคิดและความสำคัญของ TPM และบทบาทหน้าที่ของฝ่ายผลิตในการบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายทั้งทางด้าน การผลิตและทางด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร ตามแนวคิดการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งหนึ่ง ในเสาหลักที่สำคัญคือ การดูแลรักษาด้วยตนเอง AUTONOMOUS MAINTENANCE (JISHU HOZEN) มีแนวคิดการดำเนินการ 7 ขั้นตอนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร
    โดยการที่พนักงานประจำเครื่องมีสามารถในการดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองได้ ตั้งแต่การทำความสะอาดเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง การสามารถปรับปรุงแก้ไข เบื้องต้นแบบง่ายๆได้เอง การกำหนดวิธีการทำความสะอาด หล่อลื่น ตรวจสอบเครื่องจักร เบื้องต้นได้ จะมีส่วนช่วยให้กระบวนการผลิตมีความสูญเสียต่างๆ ที่ลดลง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ต้นทุนต่ำ และส่งมอบได้ตรงเวลา

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    • เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างเป็นระบบ
    • เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ อย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

    10. หลักสูตร TPM การบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อการเพิ่มผลผลิตที่ทุกคนมีส่วนร่วม TPM for Productivity improvement

    ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิต มักไม่ได้สนใจวิธีการซ่อมบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมาก็คือเครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่สม่ำเสมอ จนทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิตและหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความร่วมมือกันของหน่วยซ่อมบำรุงและพนักงานหน่วยผลิต ด้วยปัญหานี้ จึงเกิดการพัฒนาวิธีการบริหารจัดการที่มีประสอทธิภาพขึ้นในการดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิต คือ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance – TPM) ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล สินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
    การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) เป็นระบบการบำรุงรักษาที่ต้องการให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม ช่วยเหลือ ผลักดัน ให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่สูงที่สุด โดยที่คุณลักษณะอย่างหนึ่งของ TPM คือการที่ฝ่ายผลิตและบุคลากรของฝ่ายผลิตสามารถปกป้องและดูแลรักษาเครื่องจักรของตนเองได้ หรือที่เรียกว่า AUTONOMOUS MAINTENANCE หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการ TPM

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    • เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างเป็นระบบ
    • เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ อย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    11. หลักสูตรการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร Overall Equipment Effectiveness : OEE

    ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิต มักไม่ได้สนใจวิธีการซ่อมบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมาก็คือเครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่สม่ำเสมอ จนทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิตและหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความร่วมมือกันของหน่วยซ่อมบำรุงและพนักงานหน่วยผลิต ด้วยปัญหานี้ จึงเกิดการพัฒนาวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพขึ้นในการดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิต คือ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance – TPM) ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล สินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
    จากสถานการณ์ปัจจุบัน หากเกิดการสูญเสียและความสูญเปล่าขึ้น จากกระบวนการผลิตซึ่งมีผลกระทบจากการทำงานของเครื่องจักรที่ไม่เต็มประสิทธิภาพและเสียบ่อย ประการแรก คือ การสูญเสียค่าใช้จ่ายแฝง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าความสูญเสียเกิดจากเครื่องจักรมากจะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการผลิต  เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายจากความสูญเปล่าหลัก 7 ประการ (7 Waste) ตามไปด้วย ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องเข้าใจค่าวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) เพื่อทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและลดอาการเสียของเครื่องจักรที่ไม่พึงปรารถนาในการผลิต อีกด้วย 

    วัตถุประสงค์

    • เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
    • เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างเป็นระบบ
    • เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ อย่างเป็นมีรูปแบบ
    • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาเครื่องจักร ด้วยการวัดค่าจาก OEE
    • เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
    • เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

    กลุ่มเป้าหมาย

    หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

    รูปแบบการสัมมนา

    In - house training โดยมีลักษณะคร่าวๆ ดังนี้

    การบรรยาย    40 %

    เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%

    กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 20 %

    ระยะเวลาการอบรมพนักงาน

    9.30-16.00 น.

      วิทยากร

      อ.ไมท์ - ไมตรี    บุญขันธ์
      วิทยากร ความเชี่ยวชาญพิเศษในหลักสูตรฝึกอบรม (Productivity Improvement) ไม่ว่าจะเป็น TPM, , TQM, Kaizen, QCC, 5S implement, PDCA improvement ,Poka-Yoke and Visual Control ,Root cause analysis and Corrective , Preventive action, 7 Waste for cost reduction และการเพิ่มประสิทธิ์ภาพ รวมถึงการลดต้นทุน

      ดูประวัติวิทยากรแบบเต็มได้ที่นี่


      อบรมพนักงาหัวหิน In house training (PCDA,PokaYoke,Kaizen,TQM,TPM,QCC)
      อบรมพนักงาหัวหิน In house training (PCDA,PokaYoke,Kaizen,TQM,TPM,QCC)

      ไม่มีความคิดเห็น:
      Write ความคิดเห็น